ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
1. กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงอาทิตย์หรือแสงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดลำแสง
2. กล้องจุลทรรศน์ที่มีแหล่งกำเนิดให้เป็นลำอิเล็คตรอน
ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. ฐาน (Base หรือ Foot) เป็นส่วนที่วางบนโต๊ะ รูปร่างต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับแบบของกล้อง
2. ลำตัว (Body) มีลักษณะโค้งสำหรับมือจับเวลายกกล้อง ตรงส่วนต่อกับฐานมีล้อหมุนใหญ่ (coarseadjustment) และล้อหมุนเล็ก (fineadjustment) ทำหน้าที่ปรับระยะภาพ
3. ลำกล้อง (Body tube) มีส่วนต่อจากลำตัว ส่วนบนสำหรับสวมเลนส์ตา (eye-piece orocular) ส่วนล่างมี แผ่นโลหะกลมสองชิ้นชิ้นหนึ่งติดแน่นอยู่กับลำกล้องอีกชิ้นหนึ่งหมุนเคลื่อนที่ได้ (nosepiece) มีเลนซ์วัตถุ (objective lens) ซึ่งมีกำลังขยายต่าง ๆ ติดอยู่
4. เลนส์ตา (Eye-piece หรือ Ocular) มี 1 คู่ สามารถเลื่อนปรับให้พอเหมาะกับระยะห่างของช่วงตา ของผู้ศึกษา ได้และมีวงแหวนหมุนปรับภาพ (focusingeyepiece) ติดอยู่ เลนส์ตาแต่ละข้างประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน
5. เลนส์วัตถุ (Objective lens) ประกอบด้วยเลนส์ตั้งแต่ 2 อันขึ้นไปยิ่งกำลังขยายมากจำนวนเลนส์จะเพิ่มมากตามไปด้วย
6. แท่นวางวัตถุ (Stage) เป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางมีช่องกลมให้แสงผ่านเข้าเลนซ์วัตถุ ด้านในติดลำตัวกล้อง มีตัวจับสไลด์ (Stageclip) ซึ่งมีล้อหมุน (adjustment for mechanical stage clip) เพื่อเลื่อนสไลด์ขึ้นลง และซ้ายขวาเพื่อความสะดวกในการเลื่อนตรวจสอบสไลด์ที่ศึกษา
7. เลนส์รวมแสง (Substage Condenser) อยู่ใต้แท่นวางวัตถุ ทำหน้าที่รวมแสงให้สว่างมากที่สุดและมีปุ่มปรับความเข้มของแสง (Iris diaphragm)
8. ที่กรองแสง (Filter tray) เป็นวงโลหะอยู่ใต้เลนซ์รวมแสงเลื่อนหมุนออกในแนวระนาบได้ เพื่อเปลี่ยนใส่แผ่นกระจก หรือแผ่นโพลารอยด์สีต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
9. กระจกเงา (Mirror) ติดอยู่กับส่วนฐานของกล้องด้านหนึ่งเว้าและด้านหนึ่งราบ หมุนได้รอบตัวทำหน้าที่สะท้อนแสง จากแหล่งแสงต่าง ๆ ผ่านเข้าสู่เลนส์รวมแสงด้านเว้าจะรับแสงสะท้อนได้มากกว่าด้านราบ
กล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา (Compound Microscope) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น