1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์
ผนังเซลล์ (cell wall) เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุด มีลักษณะเป็นรูพรุนยอมให้สารผ่านเข้าออกได้สะดวก ประกอบขึ้นจากสารเซลลูโลส (cellulose) เป็นสำคัญช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานนับปี แม้ว่าเซลล์อาจตายไปแล้วก็ตาม และถ้านำเซลล์พืชแก่ ๆ ไปแช่ในน้ำกลั่นเซลล์ก็จะไม่แตก เพราะผนังเซลล์มีแรงต้านสูง ส่วนเซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เปลือกกุ้ง กระดองปูมีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (glycoprotein) เซลล์ของพวกไดอะตอมมีสารเคลือบเป็นพวกซิลิกาสารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้
เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane หรือ plasma membrane) อยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้ามามีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เหนียว ประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีนรวมกัน เรียกว่า ไลโพโปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็ก ๆ สามารถจำกัดขนาดของสารที่ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งสารขนาดเล็กผ่านได้ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้เป็นตัวควบคุมปริมาณและชนิดของสารบางอย่าง เช่นอาหาร อากาศ และสารละลายเกลือแร่ต่าง ๆ และยังแสดงขอบเขตของเซลล์และห่อหุ้มส่วนประกอบในเซลล์
2. ไซโทพลาซึม
ประกอบด้วย ของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมทั้งอวัยวะของเซลล์หรือออร์แกเนลล์ (organelle) ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่
ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ATP ให้แก่เซลล์ (การหายใจของเซลล์) พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งขับถ่าย
ไลโซโซม (lysosomes) มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ ภายในมีเอนไซม์สำหรับย่อยสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ฟอสโฟไลพิดและสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องการ
ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic reticulum) ทำหน้าที่ขนส่งลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์ไปยังเซลล์ข้างเคียง
กอลจิคอมเพลกซ์ (golgi complex) หรือ กอจิบอดี (golgi bodies) ทำหน้าที่สะสมโปรตีนเพื่ออัดแน่นส่งออกนอกเซลล์
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืช ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากเป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)
ไรโบโซม (ribosome) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์ เซนทริโอล (centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของโครโมโซมของสัตว์
แวคิวโอล (vacuole) พบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ทำหน้าที่เก็บอาหารของเสีย และเป็นที่พักอาหารก่อนเข้าสู่ไซโทพลาซึม
3. นิวเคลียส
นิวเคลียส เป็นส่วนที่สำคัญของเซลล์ โดยทั่วไปเซลล์จะมี 1 นิวเคลียส ยกเว้นในเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์พารามีเซียมมี 2 นิวเคลียส เป็นต้น นิวเคลียสเป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เด่นชัดมากอาจจะอยู่ตรงกลางเซลล์ หรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่
2. ไซโทพลาซึม
ประกอบด้วย ของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมทั้งอวัยวะของเซลล์หรือออร์แกเนลล์ (organelle) ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่
ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ATP ให้แก่เซลล์ (การหายใจของเซลล์) พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งขับถ่าย
ไลโซโซม (lysosomes) มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ ภายในมีเอนไซม์สำหรับย่อยสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ฟอสโฟไลพิดและสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องการ
ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic reticulum) ทำหน้าที่ขนส่งลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์ไปยังเซลล์ข้างเคียง
กอลจิคอมเพลกซ์ (golgi complex) หรือ กอจิบอดี (golgi bodies) ทำหน้าที่สะสมโปรตีนเพื่ออัดแน่นส่งออกนอกเซลล์
คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืช ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากเป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)
ไรโบโซม (ribosome) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์ เซนทริโอล (centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของโครโมโซมของสัตว์
แวคิวโอล (vacuole) พบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ทำหน้าที่เก็บอาหารของเสีย และเป็นที่พักอาหารก่อนเข้าสู่ไซโทพลาซึม
3. นิวเคลียส
นิวเคลียส เป็นส่วนที่สำคัญของเซลล์ โดยทั่วไปเซลล์จะมี 1 นิวเคลียส ยกเว้นในเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์พารามีเซียมมี 2 นิวเคลียส เป็นต้น นิวเคลียสเป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เด่นชัดมากอาจจะอยู่ตรงกลางเซลล์ หรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่
โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืช (plant cell) |
เซลล์สัตว์ (animal cell) |
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืช
|
เซลล์สัตว์
|
1. โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเหลี่ยม
2. มีผนังเซลล์อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ 3. มีคลอโรพลาสต์ 4. ไม่มีเซนทริโอล 5. มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
6. ไม่มีไลโซโซม
|
1. ส่วนใหญ่มีลักษณะกลมหรือรี
2. ไม่มีผนังเซลล์ มีเฉพาะเยื่อหุ้มเซลล์ 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์ 4. มีเซนทริโอล 5. มีแวคิวโอลขนาดเล็ก
6. มีไลโซโซม
|